ข้าวหอมมะลิไทย(Thai Jasmine Rice-Thai Hom Mali Rice-Thai Fragant Rice)
ธนิตา
อาหารหลักสำคัญของคนไทยก็ืคือ ข้าว แม้กระทั่งคนไทยในต่างประเทศส่วนใหญ่ก็ยังถือว่า ข้าว เป็นอาหารหลัก และข้าวก็เป็นสินค้าออกสำคัญที่ทำเงินให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาลตลอดมา
จากการสำรวจของนักโบราณคดี W. G. Solheim II และคณะที่ได้ขุดค้นเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์(Scientific American 1972) พบแกลบกับชิ้นส่วนของเมล็ดข้าว บ้านโนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และจากผลการวิจัยที่ Kihara Institute for Biological Researchประเทศญี่ปุ่น พบ ว่าเป็นส่วนของเมล็ดข้าวเอเชีย (Oryza sativa)ที่มีอายุประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Chester F Gorman (1969) ทำการขุดค้นที่ถ้าผีแมน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบเครื่องมือหินแบบวัฒนธรรมHoabinhian และหลักฐาน พอสรุปได้ว่า มีการเพาะปลูกข้าวเก่าแก่ที่สุด ในบริเวณภูมิภาคนี้
Shastry และ Sharma (1974) ก็มีความเห็นว่าข้าวน่าจะมีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งความคิดนี้ John Milton Poehlman ก็เห็นด้วย เพราะในภูมิภาคนี้มีพื้นที่ๆ เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การปลูกข้าว
ที่ประเทศจีน
พบเมล็ดข้าวเก่าแก่ที่สุดมีอายุประมาณ
3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่ Kingshanใน
Hupeh และที่ Yangshao ใน
ส่วนในอินเดีย พบเมล็ดข้าวเก่าแก่ที่สุดมีอายุประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ที่ Birbhum ทางตะวันตกของBengal
ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี สรุปว่า ประเทศไทยทำนาปลูกข้าวมาก่อนการปลูกข้าวในประเทศจีน และอินเดียราว 1,000 ปี จากนั้นแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดียประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลี นอกจากนั้น ก็มีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ อาทิ เมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ 3,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือราว 5,400 ปีมาแล้ว แกลบข้าวที่พบที่ถ้ำปุงฮุง มีทั้งลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญงอกงามอยู่ในที่สูงเป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า แต่ไม่พบลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดป้อม หรือข้าวพวก Japonica และที่แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี ก็พบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผากำหนดอายุได้ใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุง คือประมาณ 3,500-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชลักษณะเป็นข้าวเอเชีย (Oryza sativa) พวกเมล็ดป้อมพันธุ์ Japonica
ข้าวพันธุ์ที่มนุษย์เพาะปลูกในปัจจุบัน พัฒนามาจากข้าวป่าในตระกูล
Oryza gramineae
โดยที่ข้าวปลูกในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ข้าวแอฟริกา และข้าวเอเชีย
1.ข้าวแอฟริกา (Oryza glaberrima)
แพร่กระจายอยู่เฉพาะบริเวณเขตร้อนของแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น สันนิษฐานว่าข้าวแอฟริกาอาจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ
1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือหลังจากนั้น
2.ข้าวเอเชีย เป็นข้าวลูกผสม เกิดจาก Oryza sativa
กับข้าวป่า ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่อินเดีย
ตอนเหนือของบังคลาเทศบริเวณดินแดน สามเหลี่ยมระหว่างพม่า
ไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ แบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์
ข้าวสายพันธุ์แรกเรียกว่าสายพันธุ์ Japonica
หรือ Sanica
ปลูกบริเวณแม่น้ำเหลืองของจีนแพร่ไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 300
ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เป็นข้าวเมล็ดป้อม
ข้าวสายพันธุ์ที่สอง
เรียกว่า Indica เป็นข้าวเมล็ดยาว ปลูกในเขตร้อน
แพร่สู่ตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา แหลมมลายู หมู่เกาะต่างๆ
และลุ่มแม่น้ำแยงซีของจีนประมาณคริสต์ศักราช 200
ข้าวสายพันธุ์ที่สาม คือข้าวชวา (Javanica)ปลูกในอินโดนีเซีย
ประมาณ 1,084 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นแพร่ไปยังฟิลิปปินส์
และญี่ปุ่น ข้าวเอเชียแพร่เข้าไปในยุโรปและแอฟริกา สู่อเมริกาใต้ อเมริกากลาง
เข้าสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17
โดยนำเมล็ดพันธุ์ไปจากหมู่เกาะมาดากัสก้า
จากหลักฐานที่กล่าวมาแล้วตอนต้น เป็นที่ยอมรับกันว่า มีการปลูกข้าวในบริเวณประเทศไทย มาไม่ต่ำกว่า ๕๐๐๐ ปั คือประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากการศีกษาลักษณะของแกลบตามแผ่นอิฐของโบราณสถานในปรเทศไทย สรุปได้ว่าในสมัยทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ เป็นต้นมา มีการปลูกข้าวเหนียวก่อนและปลูกมากกว่าข้าวเจ้า เรื่อยมา แต่ก็คอยๆมีการปลูกข้าวเจ้าเพิ่มขึ้นทีละน้อย จนถึงสมัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ช่วงอยุธยาสมัยต้นๆ มีการปลูกข้าวเจ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดย และผลที่สุดต่อมาประเทศไทยก็มีการปลูกข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียวในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓หรือสมัยรัตนโกสินทร์ต้น
เดิมนั้นข้าวเหนียวในประเทศไทยเป็นแบบเมล็ดป้อม พันธุ์ Japonica จากต้นแม่น้ำโขง แล้วแพร่ขยาย ลงมาทางใต้จนถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนข้าวเจ้าที่มาแทนที่ในภาคกลางของไทยนั้น เป็นข้าวเมล็ดยาว พันธุ์ Indica จากเบงกอลทางตะวันออกของอินเดีย แพร่กระจายเข้ามามางภาคกลางและภาคใต้ของไทยไปจนถึงดินแดนในเขมร การที่มีข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียวในประเทศไทยนั้น สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะโดยธรรมชาติ เมื่อมีการปลูกข้าวเจ้าใกล้ๆกับข้าวเหนียว ข้าวเหนียวก็จะกลายพันธุ์เป็นข้าวเจ้าไปด้วย
คำว่า ข้าว นั้น แต่เดิมในภาษาไทย เขียนว่า เข้า ดังเช่นในศิลาจารึกพ่อขุนราม ก็จารีกว่า ในน้ำมีปลา
ในนามีเข้า ศิลาจารึกหลักอื่นสมัยสุโขทัย ก็จารีกว่า เข้า แทน ข้าว เช่นกัน ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐที่เขียนใน สมัยพระนารายณ์ ก็เขียน เข้า แทน ข้าว แม้กระทั่งปี พศ ๒๔๗๐ สมัยรัชกาลที่ ๗ ก็ยัง
ใช้คำว่า เข้า แทน ข้าว แต่จะเปลียนมาเขียนเป็น ข้าว เช่นในปัจจุบัน เมื่อปีอะไร ยังค้นไม่พบ
คำว่า ข้าวเจ้า มีบางคนอธิบายว่า หมายถึง ข้าวของเจ้า ของชนชั้นผู้ปกครอง แต่บางคนก็บอกว่า
เจ้า เป็นภาษามอญ หมายถึง ร่วน ไม่ติดกัน ตรงกันข้ามกับคำว่า เหนียว
จากหลักฐานต่างประเทศมีบันทึกว่า กรุงศริิอยุธยาส่งข้าวไปขายที่ จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ชวา มาลายู
มะละกา เขมร และในตัวเมืองกรุงศริิอยุธยาเอง ก็มีสถานที่ มีชื่อเรียก เกี่ยวกับข้าว เช่น คลองข้าวสาร คลองแกลบ คลองข้าวเปลือก และสะพานข้าวเปลือก เป็นต้น
สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมาประกวดกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2450 ที่อำเภอธัญบุรี พันธุ์ข้าวที่ส่งเข้าประกวดนั้น ทางการได้นำมาปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพเมล็ดดีจนได้เป็นข้าวพันธุ์ดี เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก
พ.ศ. ๒๔๕๙ พระยาโภชากร (ตริ มิลินทสูต) ผู้ช่วยเจ้ากรมเพาะปลูก จัดตั้งนาทดลองขึ้นที่คลองรังสิต จัดเป็นสถานีทดลองเฉพาะข้าวแห่งแรกของไทย ทำการวิจัยทดลอง ข้าวนาสวน(ข้าวนาดำ) ข้าวนาเมือง (ข้าวนาหว่าน หรือ ข้าวขึ้นน้ำ)ได้ข้าวพันธุ์ดีหลายพันธุ์ พันธุ์ข้าวชุดแรกที่รัฐบาลแนะนำ คือ
ข้าวพวงเงิน ตามประวัติได้มาจากขุนภิบาล ตลิ่งชัน ธนบุรี
ข้าวทองระย้าดำ ได้มาจากนายปิ๋ว บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา
ข้าวน้ำดอกไม้ ได้มาจากนายมา ลาดกระบัง พระนคร
และข้าวพันธุ์ปิ่นแก้ว ได้มาจากนางจวน ศรีราชา ชลบุรี เป็นพันธุ์ที่มีเมล็ดข้าวสาร หลังจากสีแล้ว ยาวถึง 8.4 มิลลิเมตร
“ข้าวปิ่นแก้ว”
นี้ เป็นสายพันธุ์ข้าวหนัก (ข้าวนาปี)
ได้รับรางวัลชนะเลิศในงานประกวดข้าวทั่วโลกในงานนิทรรศการ World’s Grain
Exhibition เมือง
หลังจากการสนับสนุนให้ เกษตรกรปลูก“ข้าวปิ่นแก้ว” แล้ว ประเทศไทยก็เริ่มสนับสนุนส่งเสริมให้ปลูก ข้าวขาวดอกมะลิ โดยที่ข้าวชนิดนี้มีบันทึกไว้ว่าได้มีการปลูกกันที่ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี และจากนั้นในปี 2488 นายจรูญ ตัณฑวุฒิ แห่งแหลมประดู่ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้นำมาปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา พอหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 2493-94 กระทรวงเกษตร มีโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ได้ให้ นายสุนทร สีหะเนิน เกษตรอำเภอบางคล้า ไปสุ่มตัวอย่างเก็บเกี่ยวข้าวจากที่นาของชาวนาใน อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา รวบรวมข้าวพันธุ์นี้จํานวน 199 รวง ไปทดลองปลูกที่สถานีทดลองข้าวโคกสํ าโรง จังหวัดลพบุรี โดย เปรียบเทียบข้าวพันธุ์นี้ กับข้าวในท้ องถิ่นทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้ว ปรากฏว่าได้ ข้าวจากรวงที่ 105 เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของความหอมและคุณภาพของเมล็ด
ต่อมากองบํารุงพันธุ์ กรมการข้าว กระทรวงเกษตร คัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ได้ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ข้าว จึงให้ใช้ ขยายพันธุ์ เมื่อปั 2502 มีการนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า 'ข้าวขาวดอกมะลิ 105' แล้วจนกระทั่งทุกวันนี้เกษตรกรที่ อํ าเภอบางคล้าและ กิ่งอําเภอราชสาสน์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ก็ปลูกขาวหอมมะลิมานานกว่า 50 ปั โดยไม่เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์เลย ก็ยังมีความหอมอยู่ โดยจัดเป็นข้าวเจ้าไวต่ อแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปั เท่านั้น ลํ าต้นสีสูงประมาณ 138-150 เซนติเมตร ปลูกได้ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางบางพื้นที่ ต้นข้าวอ่อนล้ มง่ายเมื่อตอนรวงข้าวสุกแก่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 20 พฤศจิกายน ผลผลิตข ้วเปลือกค่อนข้ างตํ่ าเฉลี่ยประมาณ 363 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดข้าวกล้ องยาว 7.5 มิลลิเมตร กว้ าง 2.1 มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร เมล็ดข้ าวสารใส แข็งแกร่งได้มาตรฐาน คุณภาพหุงต้มมีกลิ่นหอมและอ่อนนุ่ ม
เมื่อปี พ.ศ. 2508 มีการเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 ไปอาบรังสีแกมม่า ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ แห่งประเทศไทย เพื่อชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วเอาเมล็ดที่ได้อาบรังสีนำไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่าง ๆ ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ดีคือ KDML( ข้าวดอกมะลิ )105’ 65 G 1 U – 45 ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม แล้วตั้งชื่อข้าวพันธ์ใหม่ว่า ข้าวพันธุ์ กข. 15 ( กข ย่อมาจาก กรมการข้าว) กระทรวงเกษตร ได้พิจารณาให้ออกขยายพันธุ์นี้ เมื่อปี 2521 เพื่อแก้ปัญหาการปลูกข้าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการทำนาโดยอาศัยน้ำฝนและมักจะประสบปัญหาแห้งแล้งในฤดูการทำนาปี ข้าวพันธุ์ กข.15 นี้ เป็นพันธุ์ข้าวนาปี มีความทนแล้งดี ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เก็บเกี่ยวไวกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 10 วันมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 12 พฤศจิกายน เมล็ดข้าวกล้องยาว ใช้ทำเป็นข้าวสารชั้น 1 ได้ ผลผลิตประมาณ 556 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ข้อเสีย คิอ เป็นข้าวไวต่อแสง เหมาะที่จะปลูกได้เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
แต่ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางส่วนใหญ่ที่ไม่ขาดน้ำ ไม่นิยมปลูกข้าวหอมมะลิ ที่มาจากพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และ กข 15 ทั้งนี้เพราะเมื่อคิดคำนวณถึงผลผลิตรวมต่อไร่แล้ว ยังได้น้อย ทำให้ผลตอบแทนที่ได้ น้อยกว่าการปลูกข้าวชนิดอื่น ทางกระทรวงเกษตรจึงพยายามหาข้าวหอมพันธุ์ใหม่ ให้ชาวนาในภาคกลางและภาคอื่น ที่ไม่ขาดน้ำมาปลูกแทน ข้าวหอมดอกมะลิ 105 และ กข 15
สถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีได้ผสมพันธุ์คัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมช่วงพ.ศ. 2533 – 2536 จนได้สายพันธุ์ PTT90071 – 93 – 8 –1 – 1 ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตจนถึง พ.ศ. 2542ให้ชื่อว่า “พันธุ์ปทุมธานี 1” เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งฤดูนาปี และฤดูนาปรัง เป็นข้าวหอมที่มีคุณภาพในการหุงต้นและรับประทานคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ประมาณ 700 – 800 กก./ไร่ ปลูกในพื้นที่นาชลประทานได้ผลดี มีอายุนับจากวันตกกล้าถึงวันเก็บเกี่ยว 120 วัน
สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรีได้ดำเนินการผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์ข้าวตั้งแต่ พ.ศ. 2535 – 2538 โดยการคัดเลือกเน้นความไวต่อช่วงแสงและความหอมของเมล็ด ได้พันธุ์ข้าวชื่อ ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีจากนั้นได้ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีฯ พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี ต่อมาใปี พ.ศ. 2539 ได้ทำการทดลองปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถานีทดลองข้าวคลองหลวง สถานีทดลองข้าวบางเขน สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี สถานีทดลองข้าวราชบุรีและปลูกสาธิตในแปลงเกษตรกร พบว่าสายพันธุ์ข้าวนี้ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 คือผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรีในฤดูนาปีได้ประมาณ 523 กิโลกรัมต่อไร่ และในฤดูนาปรับปี พ.ศ. 2542 ได้ผลผลิต 647 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการปลูกทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกรชลประทาน โดยวิธีหว่านน้ำตาม ในฤดูฝนปี พ.ศ. 2539 ที่จังหวัดอ่างทอง กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พบว่าให้ผลผลิต เฉลี่ย 639 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ตลอดปี มีอายุ 122 – 121 วัน
ทั้งนี้เนื่องจากพันธุ์ข้าวของไทย แม้จะมีรูปร่างใกล้เคียงกัน แต่มีคุณภาพเมื่อเป็นข้าวสุกแตกต่างกัน ความแตกต่างด้านคุณภาพข้าวสุกนี้ เกิดขึ้นจากองค์ประกอบของแป้งในเมล็ดข้าว ที่แบ่งออกเป็น 2 ชนิดปนกันอยู่ คือ อมิโลเปคติน และ อมิโลส (amylopectin and amylose) แป้งอมิโลเปคตินเป็นส่วนที่ทำให้ข้าวสุกเหนียวและนุ่ม ในขณะที่แป้งอมิโลสจะลดความเหนียวและความนุ่มของข้าว ทำให้ข้าวสุกร่วนและแข็งมากขึ้น การจัดแบ่งชนิดข้าวตามปริมาณอมิโลส สามารถแบ่งเป็น 4 ประเภท ตามตาราง ดังนี้
ประเภทข้าว ปริมาณอมิโลส (%) ลักษณะข้าวสุก ชนิดข้าวที่รู้จักกันทั่วไป
1 ข้าวเหนียว 0-2 เหนียวมาก ข้าวเหนียว
2 ข้าวอมิโลสต่ำ 10-20 เหนียวนุ่ม ข้าวหอมมะลิ
3 ข้าวอมิโลสปานกลาง 20-25 ค่อนข้างร่วนไม่แข็ง ข้าวขาวตาแห้ง
4 ข้าวอมิโลสสูง 25-34 ร่วนแข็ง ข้าวเสาไห้
การจัดแบ่งข้าวพันธุ์ดีบางพันธุ์ตามคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน จากแหล่งข้อมูล : ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
1 ข้าวสวย นุ่ม และเหนียว ได้แก่ ข้าวหอมพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 คลองหลวง 1 สุพรรณบุรี ปทุมธานี 1 และ กข 15 ส่วนพันธุ์ ที่ไม่หอม เป็น ข้าวธรรมดา คือ กข 21
2. ข้าวสวยร่วน (ข้าวขาวตาแห้ง) ได้แก่ข้าวพันธุ์ ขาวปากหม้อ148 ขาวตาแห้ง17 กข 23 สุพรรณบุรี 60
3 ข้าวสวย แข็ง หุงขึ้นหม้อ (ข้าวเสาไห้) ได้แก่ เหลืองประทิว 123 ปิ่นแก้ว 56 นางพญา 132
กข 11 กข 13 ชัยนาท และทีมี กลิ่นหอม คือ พันธุ์ ปทุมธานี 60
ปี 2503 มีการตั้งสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute-IRRI) ขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยการสนับสนุนด้านการเงินจาก มูลนิธิร็อคกี้ เฟลเลอร์ และความร่วมมือจากรัฐบาลฟิลิปปินส์ มีวัตถุประสงค์ไว้ว่า เพื่อส่งเสริมการวิจัย-เผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับข้าว พัฒนาความอุดมสมบูรณ์ ให้กับเกษตรกรที่ยากจน และผู้บริโภค ทั้งรุ่นปัจจุบันและในอนาคต เพื่อผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
สำนักงานใหญ่ของอีรี่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ บานอส ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางใต้ 60 กิโลเมตร มีฟาร์มทดลองจำนวน 252 เฮคเตอร์ และ อีรี่ยังมีสำนักงานย่อยในอีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยเราด้วย
กรมการข้าวของไทย จัดส่งสายพันธุ์ข้าวของไทยจำนวนหนึ่งไปที่อีรี่ เพื่อใช้ในกิจการการปรับปรุงพันธุ์ของอีรี่ โดยเมื่อปี 2504 ส่งข้าวขาวดอกมะลิ105 เป็นตัวอย่างที่ 850 แล้วมีการนำไปทดลองได้ ข้าวพันธุ์ผสมใหม่เมื่อปี พศ 2509โดย Dr. Ben Jackson จาก Rockefeller Foundation ที่ทำงานให้ IRRIในไทย แล้วใช้ชื่อว่าพันธุ์ผสมใหม่นี้ว่า IR 841 ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง IR 262 กับขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ IR 841 นี้เป็นที่นิยมของชาวฟิลิปปินส์ จนทางการฟิลิปปินส์จะขอให้ตั้งชื่อว่า พันธุ์ IMELDA ตามชื่อของภรรยาประธานาธิบดี Marcos ของฟิลิปปินส์ในขณะนั้น แต่เนื่องจากข้าวพันธุ์ใหม่นี้ติดโรคและสู้ตัวแมลงในฟิลิปินส์ไม่ได้ดี จนอาจจะทำให้เสียชื่อเสียงของภรรยาประธานาธิบดีไปด้วย เจ้าหน้าที่จึงไม่แนะนำให้ใช้ชื่อ IMELDA ชาวฟิลิปินส์จะเรียกข้าวหอมประเภทนี้ว่า Milagrosa (เป็นภาษา Spanish แปลว่า "miracle" )
พ.ศ.
2532 (1989) USDA Agricultural Research Service
และ
ในอเมริกานั้น
มีความร่วมมือของ
พศ ๒๕๓๔ (
1991),
ในอเมริกาจึงมีการดำเนินงานวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย
โดยเรียกโครงการนี้ว่า “The Stepwise
Program for Improvement of Jasmine Rice for the
โครงการนี้มี ดร.เจ.นีล รุทเกอร์ จากศูนย์วิจัยข้าวแห่งชาติเดลบัมเปอร์ (Dale Bumpers)
เป็นผู้อำนวยการโครงการ โดยมีสถาบันวิจัยอีก 2 แห่ง เข้าร่วมในโครงการ ได้แก่ ศูนย์วิจัยและการศึกษาเอฟเวอร์เกลด มหาวิทยาลัยฟลอริดา ซึ่งมี ดร.คริส เดเรน เป็นผู้ดำเนินงาน และศูนย์วิจัยและส่งเสริมพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ ที่มี ดร.เจมส์ กิบบอนส์ เป็นผู้ดำเนินงาน
วิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวของโครงการ ฯ นี้ คือ
- นำข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาฉายรังสีเพื่อให้เกิดการกลายพันธุ์ เป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิ
ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ คือ เป็นพันธุ์ข้าวไม่ไว้แสง และมีต้นเตี้ย อันจะสามารถเพาะปลูกได้ในสภาพ
ภูมิอากาศของประเทศสหรัฐ โดยยังคงคุณสมบัติความหอมและความนุ่มไว้เช่นเดิม
- นำข้าวขาวดอกมะลิ 105 มาผสมกับข้าวพันธุ์จัสมิน 85 เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวผสมพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะตามต้องการเหมาะสม ในท้องถิ่นของอเมริกา
ได้มีการ นำพันธุ์ข้าวหอมมะลิ Jasmine 85 ไปขึ้นทะเบียนไว้กับ American Society of Agronomy แต่ก็ยังจดสิทธิบัตรสำหรับการคุ้มครองไม่ได้เพราะขาดความใหม่ และถือเป็น Public Owed Variety ที่เกษตรกรทั่วไป สามารถนำไปปลูกได้
ในปี 1990 บริษัท Douguet Milling Company ในสหรัฐฯ ผู้จำหน่ายผลผลิตข้าว Jasmine 85 โดยใช้ชื่อว่า Jasmine Fragrant ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "Jasmine Fragrant" แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากคำว่า Jasmine เป็นคำสามัญ และพันธุ์ข้าวเป็น Public Owed Variety เช่นกัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในอเมริกา มีการพยายามจดสิทธิบัตรสำหรับการคุ้มครองการใช้ชื่อ Jasmine Riceที่พ้องกับชื่อพันธุ์ข้าว "Jasmine" อันมีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยเรา และมีกาีรพยายามหาข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ใหม่เรื่อยมา แม้ว่าขณะนี้การดำเนินโครงการนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็น่าเป็นห่วงว่า เมื่อมีการพัฒนาข้าวหอมมะลิสายพันธุ์ใหม่ได้สำเร็จจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดข้าวของไทยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการนำเอาพันธุ์ข้าวหอมมะลิปรับปรุงใหม่ ไปขอรับสิทธิบัตรหรือจดทะเบียนตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงตามมาอีก
ดร. คริส เดเรน บอกว่าได้พันธุ์ข้าวหอมมะลิไปจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนธันวาคม 1995 และในคำสัมภาษณ์ที่ให้กับทอม ฮาร์โกรฟ(Tom Hargrove) บรรณาธิการ Planet Rice เมื่อ ต.ค.2544 เดเรนปฏิเสธว่าคณะวิจัยไม่ได้ทำผิดกฎหมายใดๆ เขาอ้างว่า ไทยออกกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชเมื่อปี 1999 แต่พันธุ์ข้าวหอมมะลินี้เขาได้มาจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติิีอีรีเมื่อปี 1995 กอ่นกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช ๔ ปี
แต่จากการตรวจสอบข้อมูลของไทย ไปยังสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติไม่พบว่า ในปี 1995 สหรัฐฯ ได้ขออนุญาตนำสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิ ไปจากสถาบันฯ ตามคำกล่าวอ้างของเดเรนแต่อย่างใดเลย
ต่อมามีผู้พบว่า เจมส์ กิบบอนส์(James Gibbons) นักวิจัยซึ่งเป็นผู้ร่วมในโครงการวิจัยนี้ เป็นผู้นำข้าวหอมมะลิจากไทยไปใช้สำหรับโครงการปรับปรุงพันธุ์ ตามหลักฐานที่ปรากฏในจดหมายข่าวของมหาวิทยาลัยแห่งอาร์คันซอส์ รายงานโดย โฮเวลล์ เมดเดอรส์ (Howell Medders) เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2544 ได้ลงพิมพ์ คำให้สัมภาษณ์ของกิบบอนส์ ซึ่งกล่าวว่า
“ขณะนี้มหาวิทยาลัยแห่งอาร์คันซอส์กำลังได้เมล็ดข้าวหอมมะลิจากเชื้อพันธุ์ข้าวหอมมะลิทั้งหมดจากไทย
สำหรับใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ของอาร์คันซอส์ (U of A is obtaining seed
of all Jasmine germplasm from
คำให้สัมภาษณ์นี้ เป็นระยะเวลาที่กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยบังคับใช้แล้ว จึงหมายความว่าการได้รับพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยไปจากไทยนั้น เป็นไปอย่างผิดกฎหมาย
คำให้สัมภาษณ์ของกิบบอนส์ที่บอกว่าได้เมล็ดข้าวหอมมะลิจาก “เชื้อพันธุ์ข้าวหอมมะลิทั้งหมดจากไทย” ทำให้น่าคิดว่าพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งพัฒนาจากพันธุ์ข้าวหอมมะลิจนมีลักษณะต้นเตี้ย ไม่ไวต่อแสงและสามารถปลูกได้ในสหรัฐฯ โดยทันทีนั้น อาจถูกนำไปใช้ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ดังกล่าวด้วย จะทำให้สหรัฐฯ ผลิตข้าวหอมมะลิแข่งขันกับไทยได้ในเวลาอันสั้น
อาร์คันซอส์ เป็นรัฐที่มีการปลูกข้าวมากที่สุดในสหรัฐฯ(ประมาณ 1.5 ล้านเอเคอร์ หรือ 40 % ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดในสหรัฐฯ)
ปัจจุบันการบริโภคข้าวของชาวอเมริกันเพิ่มขึ้น 20 % นับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวมีการนำข้าวเพิ่มขึ้นถึง 85 % โดยในจำนวนข้าวที่สหรัฐฯนำเข้าทั้งหมดนั้นมีสัดส่วนของข้าวหอมมะลิสูงถึง 73 % หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี ผู้บริโภคอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ไม่ชอบข้าวหอมแบบเดิมที่อเมริกันปลูกได้ในอาร์คันซอส์เพราะ “เมล็ดมีสีเหลือง กลิ่น และรสชาติ แตกต่างอย่างมากจากหอมมะลิไทย”
ศึกแย่งชิงตลาดและกรรมสิทธิ์ในพันธุ์ข้าวหอมจากชาวนาเอเชียครั้ง มีอักเมื่อ
1997
โดยสำนักงานสิทธิบัตรแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้สิทธิบัตรแก่บริษัทไรซ์เทค (RiceTech
Inc.)
แต่จากการตรวจสอบโดยเอกสารของสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และจากการตรวจสอบโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของนักวิทยาศาสตร์จากกระทรวงวิทยาศาสตร์ของไทยยืนยันว่าข้าวจัสมาตินั้นมิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับข้าวหอมมะลิของไทย และข้าวจัสมาติ ก็ไม่ได้มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตยเช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิไทย แต่กลับมีกลิ่นเหมือนข้าวโพดคั่ว ทั้งนี้เพราะข้าวจัสมาติของบริษัทไรซ์ เทค เป็นข้าวที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาจากข้าวพันธุ์ เดลลา (Della) ข้าวพื้นเมืองพันธุ์หนึ่งซึ่งมีต้นกำเนิดในอิตาลีกับพันธุ์ข้าวจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI)
ดังนั้น การใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าว่าจัสมาติ จึงน่าเชื่อว่า บริษัทไรซ์เทค ต้องการหลอกลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าข้าวพันธุ์ดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิ (Jasmine) หรือเป็นข้าวที่มีส่วนผสมของข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวบัสมาติของอินเดีย โดยที่ ข้าวหอมมะลิ (Jasmine Rice) ของไทยและข้าวบาสมาติ (Basmati Rice)ของอินเดีย นั้นเป็นข้าวที่มีคุณภาพและคุณลักษณะที่ดีมากในโลก
การจดสิทธิบัตรในพันธุ์ข้าวบัสมาติของไรซ์เทค ทำให้รัฐบาลอินเดีย องค์กรพัฒนาเอกชน สมาคมผู้ส่งออกข้าว และชาวนาอินเดียเคลื่อนไหวต่อต้านทั้งต่อบริษัทไรซ์เทคและรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ชาวอินเดียไม่ได้ต่อสู้เรื่องนี้เฉพาะในอเมริกาเท่านั้น แต่ได้ต่อสู้ที่ประเทศกรีซและอังกฤษซึ่งอยู่ในยุโรปด้วย ทั้งนี้เพราะยุโรปเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของข้าวบัสมาติ รองจากตะวันออกกลาง แต่จนถึงบัดนี้ก็ไม่สามารถเพิกถอนการจดเครื่องหมายการค้าจัสมาติได้
สถาบันวิจัยการเกษตรในสหรัฐอเมริกาและบริษัทต่างๆ ของอเมริกา ก็มุ่งมั่นพัฒนาข้าว
Jasmine 85
ให้ได้ใกล้เคียงข้าวหอมมะลิไทยอยู่อย่างขะมักเขม้น ผู้เขียนเคยลองทานข้าว
Jasmine 85 จาก
ไรซ์เทค
กำลังร่วมมือกับสถาบันวิจัยข้าวของจีนชื่อ
ในอดีต พันธุ์ข้าวไทยมีฐานพันธุกรรมที่ให้ผลผลิตต่ำ คือ มีต้นสูง ไม่ต้านทานโรคและแมลง มีลักษณะไวต่อช่วงแสง เป็นพันธุ์ที่ปลูกได้เฉพาะข้าวนาปี โครงการแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ข้าวของ IRRI ช่วยให้ประเทศไทยได้รับเชื้อพันธุ์ข้าวต่างๆ ที่มีฐานพันธุกรรมหลากหลาย มาใช้ในโครงการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทยให้มีผลผลิตสูงและต้านทานต่อโรคแมลงที่สำคัญ
จากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประเทศไทยจึงประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทย ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกมาจนถึงปัจจุบันมีพันธุ์ข้าวของไทยที่ให้ผลผลิตสูงอยู่ถึง 33 พันธุ์ ที่มีการพัฒนาพันธุ์โดยใช้เชื้อพันธุ์ข้าวจากโครงการแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์ข้าวของ IRRI ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น สามารถครองอันดับหนึ่งของโลกในการส่งออกสินค้าข้าวได้จนถึงปัจจุบัน
ตามรายงานสถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2517/18 ผลผลิตข้าวของไทยมีเพียง 13.410 ล้านตัน และผลจากการพัฒนาวิจัยและพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่องในปี 2541/2542 ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้ถึง 22.99 ล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นผลิตจากข้าวนาปี 18.66 ล้านตัน และข้าวนาปรัง 4.33 ล้านตัน
ตัวอย่างของพันธุ์ข้าวไทยพันธุ์เด่นๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากเกษตรกรไทยและผู้ประกอบการค้าข้าว ได้แก่ พันธุ์กข 1 กข 23 ชัยนาท 1 ปทุมธานี 1 เป็นต้น
ข้าวหอมมะลิไทย เป็นหนึ่งในพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดของโลกและเป็นพันธุ์ข้าวที่ส่งออกและได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุดในโลก ตัวเลขการส่งออกข้าวหอมมะลิไทย เมื่อ ปี 2543 สูงถึง 1.21 ล้านตัน จากยอดการส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย 6.61 ล้านตัน ตัวเลขการส่งออกข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ จีน และฮ่องกง
ในตลาดสหรัฐอเมริกานั้น มีความต้องการข้าวหอมมะลิสูงขึ้นเช่นเดียวกับตลาดอื่น ๆ
โดยระหว่าง ปี 2536-2540 ประเทศไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปยังสหรัฐเฉลี่ยประมาณ 200,000 ตันต่อปี ตลาดข้าวหอมมะลิไทยได้ขยายขึ้นเป็น 300,000-400,000 ตัน โดยในจำนวนข้าวที่สหรัฐนำเข้าทั้งหมดนั้นเป็นข้าวหอมมะลิไทยถึง 75% ของข้าวที่สหรัฐฯนำเข้าส่วนใหญ่มาจากแหล่งในเอเชีย โดยมาจากไทยร้อยละ 75 อินเดียร้อยละ 12 จีนร้อยละ 8 และอื่นๆร้อยละ 5
เมื่อมองตัวเลขการส่งออกข้าว ไทยยังคงเป็น ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก อย่างต่อเนื่อง โดยประมาณว่า ปี ๒๕๔๖ นี้ ไทยจะส่งข้าวออกในตลาดโลกถึง ๗ ล้านตัน โดยไทยมีตลาดส่งออกข้าวหลักคือ...อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน ไอวอรี โคสต์ แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกาสำหรับ ราคา ในช่วงเดือน ก.ย. ก่อนจะมีการประชุมเอเปคนั้น... ข้าวหอมมะลิไทยชั้น 1 เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 52.7% มาอยู่ที่ 565 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากเดิม 370 เหรียญสหรัฐ/ตัน ซึ่งเป็นการขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้าวหอมมะลิไทยชั้น 2 ราคาก็เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน โดยเพิ่ม 54.16% ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 555 เหรียญสหรัฐ/ตัน จากเดิม 360 เหรียญสหรัฐ/ตันส่วนราคาในประเทศ...ข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 9,250-10,000 บาท
บริษัทไรซ์เทคของสหรัฐจดเครื่องหมายการค้า "จัสมาติ" แล้วอ้างว่าเป็น "ข้าวหอมมะลิ" (Jasmine rice) รัฐบาลไทยทำอะไรก็ไม่ได้เพราะสหรัฐอ้างว่า "ข้าวหอมมะลิ" เป็น "ชื่อสามัญ" (generic name) การมีข้อตกลงเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่คุ้มครองชื่อ"ข้าวหอมมะลิ" จึงเป็นการคุ้มครองตลาดข้าวหอมมะลิของไทยซึ่งปัจจุบันมียอดส่งออกถึง 30,000 ล้านบาท/ปี และอาจจะทำให้เราได้ตลาดข้าวพันธุ์ุ์อื่นที่อ้างว่าเป็นข้าวหอมมะลิ เช่น จัสมาติ หรือ จัสมิน85 ซึ่งมีมูลค่าตลาดประมาณ 10,000 ล้านบาท คืนมา ที่สำคัญเราอาจใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือที่จะสามารถปกป้องตลาดข้าวหอมมะลิของเราในอนาคตได้อีกด้วย เพราะตอนนี้ไม่ใช่เฉพาะ ดร.คริส เดเรน และกระทรวงเกษตรของอเมริกาเท่านั้น จีนก็กำลังพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมาแข่งกับเราอย่างแข็งขัน
เมื่อเดือน
มิถุนายน ๒๕๔๖ นี้
การที่กฎหมายของสหรัฐได้กำหนดว่าชื่อ “ข้าวหอมมะลิ” เป็นชื่อสามัญ และคณะกรรมาธิการการค้าของสหรัฐ (Federation Trade Commission) ไม่รับฟ้องของประเทศไทยที่ฟ้องร้องต่อบริษัทไรซ์เทค
ที่เอาข้าวพันธุ์อื่นขายในนามข้าวหอมมะลิ โดยทางสหรัฐอ้างว่า คำว่า ข้าวหอมมะลิ เป็นชื่อสามัญที่รู้กันโดยทั่วไป แม้ว่าชื่อสายพันธุ์ที่แท้จริงคือ ดอกมะลิ 105 ก็ไม่อาจนำเอาชื่อ “ข้าวหอมมะลิ” มาจดทะเบียนเพื่อรับความคุ้มครองตามกฎหมายของสหรัฐได้
อันที่จริงแต่เดิมนั้น คำว่า "ข้าวหอมมะลิ" นั้น สามารถที่จะจดเป็นชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าได้ และจริง ๆ แล้วไทยเรามีกฎหมายเรื่องชื่อและเครื่องหมายการค้ามานานแล้ว แต่เราไม่ได้ไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ เสียก่อน ครั้นเมื่อเขาเริ่มเอาเรื่องกฎหมายชนิดนี้เข้าองค์การค้าโลก เราก็ไม่เคยไปแจ้งว่ามีใครจดทะเบียนอะไรไว้บ้าง คำว่า "ข้าวหอมมะลิ" หรือคำว่า "หอมมะลิ" จึงกลายเป็นคำสามัญ ที่ใคร ๆ จะนำไปใช้ที่ตรงไหนก็ได้ แถมยังมีฝรั่งหัวใสไปจดคำว่า "Hommali" เอาไว้ด้วย ในอนาคตไทยเราอาจถูกฟ้องเมื่อไปเขียนคำว่า "Hommali Rice From Thailand" บนถุงข้าวสารที่เราส่งออกได้ด้วย
ทางไทยจึงได้คิดคำใหม่ว่า “ หอมมะลิไทย” เพราะคำว่า “ ข้าวหอมมะลิไทย “ สามารถจดทะเบียนได้ เนื่องจากเชื่อมโยงถึงแหล่งผลิตทางภูมิศาสตร์ และไม่ได้มีความหมายเพียงชื่อทางภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่รวมถึงความรับรู้ของสาธารณชน อีกด้วยว่า ข้าวหอมมะลิของไทยมีชื่อเสียงรู้จักกันโดยทั่วไป จึงนำชื่อข้าวหอมมะลิมาจดทะเบียนได้ ภายใต้ชื่อ "ไทยหอมมะลิไรซ์" และ "ไทยจัส มินไรซ์ และได้เปลี่ยนมาตราฐานใหม่ โดยแต่เดิมนั้น เมื่อ 26 เมษายน 2543 ประกาศ ว่า ข้าวหอมมะลิไทย” (THAI HOM MALI RICE or THAI JASMINE RICE) หมายถึง ข้าวกล้องและข้าวขาวที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ข้าวหอม ที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศรับรอง เช่น พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พันธุ์ กข. 15 พันธุ์คลองหลวง 1 ที่มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติขึ้นอยู่กับว่าเป็นข้าวใหม่หรือข้าวเก่า เมื่อหุงเป็นข้าวสวยแล้วเมล็ดข้าวสวยจะอ่อนนุ่ม ก็เปลี่ยนความหมายใหม่เมื่อ31 ตุลาคม พ.ศ. 2544 โดยตัดคำว่า THAI JASMINE RICE และ พันธุ์คลองหลวง 1 ออกไป เหลือเพียง พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15 คือ
1)
“ข้าวหอมมะลิไทย
” (THAI HOM
ประเภทของข้าว
2 ให้แบ่งข้าวหอมมะลิไทยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
4.1 ข้าวขาว
4.2 ข้าวกล้อง
3 ให้แบ่งข้าวหอมมะลิไทยออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้
(1)
ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
(2) ข้าวขาว 100
เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2
(3) ข้าวขาว 100
เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
(4) ข้าวขาว 5
เปอร์เซ็นต์
(5) ข้าวขาว 10
เปอร์เซ็นต์
(6) ข้าวขาว 15
เปอร์เซ็นต์
(7)
ข้าวขาวหักเอวันเลิศพิเศษ
(8) ข้าวขาวหักเอวันเลิศ
โดยแต่ละชนิดต้อง มี(1)
มีข้าวหอมมะลิไทย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92.0
(2) มีความชื้นไม่เกินร้อยละ
14.0
(3) มีลักษณะโดยทั่วไป
เป็นข้าวเมล็ดยาว มีความขาว ท้องไข่น้อยโดยธรรมชาติ
(4)
ไม่มีแมลงที่ยังมีชีวิตอยู่
(5) มีขนาดเมล็ด ดังนี้
ความยาวเฉลี่ยของข้าวเต็มเมล็ด
ที่ไม่มีส่วนใดหักต้องไม่ต่ำกว่า 7.0 มม
อัตราส่วนความยาวเฉลี่ยต่อความกว้างเฉลี่ยของข้าวเต็มเมล็ดที่ไม่มีส่วนใดหัก
ต้องไม่ต่ำ กว่า 3.2 : 1
(6) มีคุณสมบัติทางเคมี ดังนี้
มีปริมาณอมิโลส ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 13.0 และไม่เกินร้อยละ 18.0 ที่ระดับความชื้นร้อยละ 14.0
มีค่าการสลายเมล็ดข้าวในด่าง ระดับ 6-7
2 ให้แบ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ ข้อ 2 ให้แบ่งสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ซึ่งการแบ่งข้าวหอมมะลิไทยแบบใหม่นี้ดีกว่าแบบเดิมที่สับสน เพราะเิดิมแบ่งข้าวหอมมะลิไทยออกเป็น 3 ชั้น คือ ข้าวหอมมะลิไทย ชั้นดีเลิศ (Prime quality) ข้าวหอมมะลิไทย ชั้นดีพิเศษ (Superb quality)และ ข้าวหอมมะลิไทย ชั้นดี (Premium quality) โดยอาจมีข้าวเจ้าพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิไทยปน ไม่เกินร้อยละ 10.0, 20, 30 โดยน้ำหนัก ตามลำดับแล้วยังแบ่งออกเป็น 8 ชนิดในข้อ ๓ อีกด้วย
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงว่า มี ข้าวเต็มเมล็ด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60.0
มีข้าวเหนียวขาวไม่เกิน ๑.๕ ส่วนชั้น 1 2 3 แตกต่างกันตามจำนวนปริมาณและชนิดของข้าวหักรวมทั้งสิ่งเืจือปนต่างๆ
นอกจากนั้นทางรัฐบาลไทย ได้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองของ
“ข้าวหอมมะลิไทย ”
ที่มีแหล่งกำเินิดในประเทศไทย
และมีคุุณภาพเป็นไปตามมาตราฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้
โดยมีข้อความอักษรภาษาไทยว่า “ข้าวหอมมะลิไทย ”
และมีภาพสัญลักษณ์ เมล็ดข้าวและรวงข้าว สีเหลือง อยู่ในวงกลมพื้นสีเขียว
ซึ่งล้อมรอบด้วยภาษาอังกฤษว่า . THAI HOM
DEPARTMENT OF FOREIGN TRADE เป็นตัวอักษรสีเขียว บนพื้นสีขาว เครื่องหมายรับรองมาตราฐานนี้สำหรับ“ ข้าวหอมมะลิไทย ”ที่ส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศ ประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ มีบริษัทส่งข้าวออก ต่างประเทศจำนวนมากได้รับเครื่องหมายรับรอง
สำหรับข้าวหอมมะลิ ภายในประเทศไทยนั้น กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิ ดังนี้
1) ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
2) ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
3) ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา)มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ มีเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิ ตามมาตรฐาน เป็นภาพศิลปสมัยใหม่ รูป พนมมือ ตัวหนังสือและกรอบสีเหลียมจตุรัสสีทอง บนพื้นสีขาว
แต่มิได้บังคับให้ผู้ผลิตทุกรายต้องยื่นขอตรารับรองจึงมีความเป็นไปได้ที่ข้าวหอมมะลิบางยี่ห้อจะมีการปลอมปนด้วยที่ข้าวที่บรรจุไม่ตรงตามประเภทซึ่งผู้ผลิตระบุดังนั้นผู้บริโภคควรจะพิจารณาถึงเครื่องหมายมือพนมทุกครั้งก่อนเลือกซื้อข้าวหอมมะลิ
การเก็บรักษาข้าวสวยและอาหารให้ได้นานกว่าปกติ
“ข้าวสวยและอาหารพร้อมปรุง
ส่วนใหญ่จะมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ จำพวกแบคทีเรียหลายชนิด เช่น
E.coli, S.aureus, B.cereus และ
Salmonellae ทำให้คุณภาพของอาหารลดลงจนถึงเน่าเสีย
และอาจก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้เมื่อนำมาบริโภค
ซึ่งหากมีปริมาณน้ำหรือความชื้นในอาหารจำนวนมากและเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติก็จะยิ่งทำให้จุลินทรีย์เติบโตเร็วขึ้น”
เพราะฉะนั้น
ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการควรเก็บรักษาอาหารให้ถูกวิธี เช่น
เก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำหรือในตู้เย็น
และใช้ภาชนะห่อหุ้มที่กันความชื้นได้จะช่วยทำให้เก็บรักษาอาหารได้นานขึ้น
ดังนั้นถ้าเก็บข้าวสวยในขณะที่เพิ่งหุงสุกใหม่ๆ
โดยใส่ถุงพลาสติกแล้วปิดค่อนข้างสนิทพร้อมเก็บในทันที
จะทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์จากภายนอกยาก
ประกอบกับมีเชื้อจุลินทรีย์ที่เหลืออยู่หลังจากการหุงต้มน้อยและหากเก็บไว้ในที่เย็นก็จะทำให้เก็บอาหารไว้ได้นานกว่าปกติ
เอกสารอ้างอิง
http://www.senate.go.th
บทความจาก
http://www.mofga.org/news20020119.html
Reported by Chris Westcott cwestco@hotmail.com
Thai Jasmine Rice and the Threat of the
This past November in Khon Kaen, Thailand, a collection of villagers, farmers, workers, environmentalists, people with HIV/AIDS, NGOs, and women’s networks came together to celebrate Isaan (the people and area of the northeast in Thailand) local wisdom and local culture. The festival, put together by the people’s movement against globalization, involved traditional Isaan music and dancing while people sold locally made crafts and products, shared different ideas about globalization and resistance, and drank the recently legalized traditional alcohol like satho (rice wine) and lao (rice whiskey).
At the festival there were over one thousand Isaan farmers protesting the
genetic research of American scientists Chris Deren and Neil Rutger. The two
have genetically engineered a strain of the famous khao hom-mali
(Thai jasmine rice) that they claim is suitable for growing in the
Thai farmers concerned about future of their valued crop
Thousands of Isaan farmers have been protesting about the jasmine rice case all
over the country in the past two months condemning the US and World Trade
Organization (WTO) with black magic rituals in front of the US embassy in
Bangkok, rallying before the Prime Minister Thaksin Shinawatra on a recent visit
to the northeast province of Surin, and burning effigies of US president George
W. Bush and head of WTO Mike Moore in Mahasarakham province. Farmers are worried
that Chris Deren’s new strain of rice will be patented and grown throughout the
Jasmine rice is one of the most sought after strains of rice in the world and is
grown by over 5 million families in Thailand many of whom are in debt and very
poor. In 1999 the average income of farming households was 26,822 baht (US$600)
significantly lower than the average household earning of 78,875 baht (about
$1800).3 If the small-scale farmers in Thailand lose the markets for
jasmine rice, in particular its main buyer the US, then the viability of their
livelihood will be threatened in the future. Ms. Bayoong, a jasmine rice farmer
from the central region of
Ms. Bayoong is not exaggerating. While jasmine rice accounts for about 25
percent of
Details of how Deren obtained the seed put role of International Rice Research Institute (IRRI) in question?
As farmers worries grow, details of how Chris Deren obtained the strain of
jasmine rice are still unclear. Deren, a professor at the
IRRI is an international agency funded through the Consultative Group on
International Agricultural Research (CGIAR) which operates under the World Bank.
It was created to aid developing countries by promoting food security and
eradicating poverty.8 Yet at a press conference held in
According to an agreement with the UN Food and Agriculture Organization (FAO)
researchers requesting seeds from the institute must follow the Material
Transfer Agreement (MTA), which firmly states the recipient cannot seek to
patent or monopolize donated seeds from the Institute. Yet Deren never completed
an MTA upon receiving "Jasmine Rice 105" seeds from IRRI.10 According
to Mr. Boriboon Somrith,
The Outcome of Deren’s Experiment; a matter of $100 million a year
After obtaining the seed, Chris Deren genetically mutated the rice with gamma
rays to make the plant mature earlier and grow shorter. Both qualities are
necessary for making the rice more suitable to the American climate and for the
The research was conducted at the
News of Deren’s experiments have already reached the business community in the
Branding the Asian
rice bowl: the case of
Because of the high value of Asian rice strains American companies have been vigorously trying to get a share of the markets for these popular strains of rice. Recently, the Indian government learned that its traditional basmati rice exports will be undercut at a cost of close to $200 million a year by a genetically modified strain that is a Texas grown version of India’s Basmati Rice created by the US Biotech firm RiceTec Inc.16 In a highly controversial case RiceTec won the ability to claim monopoly on its American made basmati-like rice, and even market it as "superior" in quality to the Indian parent variety.
But that’s not all. In September 1997, RiceTec won rights to trademark a brand of rice it calls Jasmati. Jasmati is marketed as a "Texas-grown copy of Thai jasmine rice" even though it has no relation to either Thai jasmine rice or India’s basmati rice.17 The Jasmati rice is actually derived from a combination of Italian Bertone rice and a US variety called Della.18 Yet the company is able to mislead consumers into believing they are getting a combination of jasmine and basmati rice, the two most popular imported rice strains in the US.
In fact, a recent market survey completed by the Thai commercial attache in
The controversy over jasmine rice has created a lot of negative feelings amongst
Thai farmers and Thai citizens towards
Biotechnology: Small Countries find it hard to compete; Small holders find it harder to survive
The Thai government has assured that it will be actively investigating Deren’s
research, and any other research conducted on Thai jasmine rice. It has already
appointed two lawyers to investigate the situation, and has also given funds to
the Thai biotec research center to identify the genome of jasmine rice in order
to defend it from outside researchers and companies.22 But NGOs
aren’t yet sure how far the Thai government is willing to go to protect the
countries valuable rice variety. Rather then being a legal question they claim
it is more of a political question.23 How far is the Thai government
willing to push the
But it is the small-scale farmers of
For the past decade Thai farmers have been protesting the Thai government and agro-industrial companies demanding changes in the countries agricultural sector. The loss of one of their most important crops, jasmine rice, is not the type of change that they were hoping for. Mr. Loi Lerngram a farmer from the northeast says, "To patent jasmine rice or to misuse its name is plundering from the poor. Anyone who would steal from the poor Thai farmers is really shameless."27
WTO’s TRIPs agreement giving Biotech companies the edge in agricultural trade
The current situation with jasmine rice raises many issues about the current
framework governing global trade in agriculture. If
TRIPs imposes a uniform standard for intellectual property protection throughout the world; protecting patents, trademarks, copyright etc. TRIPs was created at the 1994 trade round of GATTS which gave birth to the WTO, has been resisted by many countries throughout the global south who argue that it allows transnational corporations (TNCs) from the North to exploit the biological and genetic diversity found in the South.28 Under TRIPs companies can obtain patents over plant varieties, which are the basis of food security, and health care throughout the world. Yet in order for the plants to be patented they must be altered in some way so that they are distinctively different from the original organism found in nature.29
As a result, a country like
By building seed monopolies Biotech companies can further control the process of
food production requiring farmers to buy seeds expanding their input costs
significantly. By giving advantage to TNCs TRIPs implicitly favors the economies
of the developed world, as almost all of the companies large enough to do global
research on biological resources are based in the North. This is explains why a
farmer from Isaan held a sign in
This case study of jasmine rice in
International solidarity the key to resistance
While the story told above may seem a little bleak, all is not lost. In fact a broad global coalition of labor unions, religious groups, feminists, farmers, HIV/AIDS activists, anarchists, environmentalists, and concerned citizens are coming together and creating alternatives. Since the problems that we are facing in our communities are truly global in their nature, we must come together as people and seek out global solutions together, which will benefit us all.
Thai farmers need the help of international citizens. By linking up with people
from around the world the Thai farmers have a better chance of protecting their
highly prized jasmine rice, and therefore the sustainability of their
livelihoods. If you wish to help farmers in
-Write a letter to your trade representative urging them to further revise the WTO TRIPs agreement, calling for all biological resources to be void from the TRIPs agreement
-Write a letter to Chris Deren at:
5881SW
or email him at cwd@gnv.ifas.ufl.edu Urging him to sign a formal agreement with the Thai government saying he will not sell his rice to a company who may control over his new strain of rice.
-Write a letter to the United States Department of Agriculture urging them to halt all research that will threaten the export viability of crops from the developing world, which millions of farmers depend on. Send to:
Office of the Administrator
Floyd P. Horn
14th and
Or email him at admars@ars.usda.gov
For more information on the WTO’s TRIPs agreement see:
www.grain.org/publications/chapter5-en-p.htm
http://iisd.ca.trade/trips.htm
www.attac.org/nonewround/wto/wto02.htm
http://flag.blackened.net/revolt/ws/2001/64/trips.html
For more information on the patenting and genetic engineering being done on Asian rice see:
www.grain.org/publications/rice-en-p.htm
www.poptel.org.uk/panap/archives/la-thais.htm
www.biotech-info.net/thai-farmers.html
www.american.edu/TED/thairice.htm
www.eftafairtrade.org/Document.asp?DOCID=202&tod=4553
For more information on the WTO and Globalization in general see:
www.wtowatch.org www.globalizethis.org
Contacts to NGOs working on this issue:
In
-Biothai- The Thai Network on Community Rights and Biodiversity
Witoon Lianchamroon
Tel: 6622952-7953
Fax:6622952-731
-RRAFA- Rural Reconstruction Alumni and Friends Association
Ms. Walaiporn Od-ompanich
Tel: 662935-2981
Fax:662935-2980
International
-ENGAGE- Educational Network for Global and Grassroots Exchange
In Thailand Peggy Reents at preents@yahoo.com
In USA Chris Westcott at cwestco@hotmail.com
-EFTA- European Fair Trade Association
Elisabeth Piras
Tel: (+32) 2 213 12 46
Fax: (+32) 2 213 12 51
-ETC (formerly known as RAFI)- The Action Group on Erosion, Technology and Concentration
Hope Shand
Tel: (204) 453-5259
Hope@etcgroup.org